โรคงูสวัด (Herpes Zoster) เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา VZV (Varicella zoster virus) ซึ่งเป็นไวรัสตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เมื่อหายจากการเป็นโรคอีสุกอีใส เชื้อไวรัสอีสุกอีใสจะไปหลบอยู่ในปมประสาทของร่างกาย เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำตามวัย
โรคงูสวัดจะเริ่มแสดงอาการออกมา โดยจะมีตุ่มน้ำใสขึ้นเป็นกระจุก ร่วมกับอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนัง และอาจมีอาการปวดหัว ไข้ หนาวสั่น ท้องเสียร่วมด้วย โรคงูสวัดสามารถเกิดได้ในทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุ รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคปอด โรคไตเรื้อรัง และผู้ที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสทุกคน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคงูสวัด หากภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่แข็งแรงพอ ดังนั้น วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
วัคซีนป้องกันโรคงูสวัดชนิดใหม่ เป็นชนิดหน่วยย่อยรีคอมบิแนนท์ (Recombinant subunit zoster vaccine: RZV) ซึ่งเป็นระบบสารเสริมฤทธิ์ (Adjuvant system) AS01B ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพวัคซีนให้กระตุ้นภูมิได้เร็วขึ้นและสูงกว่า จึงมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคงูสวัดและประสิทธิภาพอยู่ได้ยาวนานกว่าวัคชีนแบบไม่ใส่ Adjuvant และสามารถใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิ
- ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ฉีด 2 เข็ม โดยฉีดห่างจากเข็มแรก 2 เดือน
- ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่มีความเสี่ยงต่อโรคงูสวัดมากกว่าปกติ และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฉีด 2 เข็ม โดยฉีดห่างจากเข็มแรก 2 เดือน
- ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ชนิด Zostavax มาก่อน สามารถฉีด RZV ได้ โดยฉีด RZV 2 เข็ม และเว้นห่างจาก Zostavax อย่างน้อย 2 เดือน
-ผู้ที่เคยเป็นโรคงูสวัดมาก่อน สามารถฉีด RZV ได้ โดยให้เว้นระยะห่างหลังจากเป็นโรคงูสวัดอย่างน้อย 6 เดือน โดยฉีด RZV 2 เข็ม โดยฉีดห่างจากเข็มแรก 2 เดือน
- ผู้ที่แพ้ตัวยาสำคัญ หรือส่วนประกอบตัวใดตัวหนึ่งของวัคซีน
- ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด คือ อาการปวด แดง หรือบวมในบริเวณที่ฉีดวัคซีน ส่วนอาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ตัวสั่น มีไข้ ปวดท้อง และคลื่นไส้
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ , วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ นิวโมคอคคัสโพลิแซคคาไรด์ ชนิด 23 สายพันธุ์ (PPV23 vaccine) และนิวโมคอคคัสคอนจูเกต (PCV vaccine), วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ แต่ควรแยกฉีดคนละตำแหน่ง