อาการของโรคไข้หวัดใหญ่
ไข้สูง หนาวสั่น และเหงื่อออก
เจ็บคอและไอแห้ง
จาม มีน้ำมูกไหล
ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อ่อนเพลียมาก
ท้องเสียและอาเจียนซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก
การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีใช้ต่ำ ๆ และยังรัประทานอาหารได้สามารถดูแลตนเองได้ ดังนี้
รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ
เช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำที่ไม่เย็นจัด
ดื่มน้ำมากๆ เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้ งดดื่มน้ำเย็น
รับประทานอาหารอ่อน และอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้
นอนพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่มีการถ่ายเทอากาศดี
ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อทุกราย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา ยกเว้นผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นราย ๆไป
การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี
หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไอ จาม หรือมีไข้ตัวร้อน
หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่มีช่วงระบาดของไข้หวัดใหญ่
ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
การตรวจหาเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่
Rapid Influenza Diagnosis Tests (RIDTs) แพทย์จะเก็บตัวอย่างเชื้อจากน้ำมูกในจมูกหรือเสมหะในลำคอของผู้ป่วยไปตรวจ เป็นวิธีที่ทราบผลการตรวจอย่างรวดเร็วภายใน 30 นาที แต่วิธีการนี้ไม่สามารถตรวจพบไวรัสที่มีความเข้มข้นต่ำได้ และสามารถแยกไวรัสได้เพียงชนิด A และ B เท่านั้น ในบางครั้งผู้ป่วยจึงยังติดเชื้อแม้จะมีผลตรวจออกมาเป็นลบ
Reverse Transcription-Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) เป็นการเก็บสารคัดหลั่งในโพรงจมูกหรือในลำคอของผู้ป่วยแล้วนำเชื้อในสารคัดหลั่งไปเพาะเลี้ยง มักทำเมื่อตรวจไม่พบเชื้อในกรณีที่ใช้ชุดทดสอบแบบแรก แต่แพทย์ยังคงสงสัยว่าได้รับเชื้อจริงหรือจำเป็นต้องได้รับการยืนยันที่แน่นอนเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ซึ่งจำเป็นต้องรอผลการเพาะเชื้อประมาณ 3–7 วัน